วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 8 ( วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน เวลา 12.30 น )



ความรู้ที่ได้รับในวันนี้



    
     ในวันนี้ครูบาสให้พวกเรานำวัสดุเหลือใช้จากที่บ้านมาประดิษฐ์สื่อ  ซึ่งครูบอกสั่งตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว ทุกคนต่างลงมือกันอย่างตั้งใจและ สนุกสนานกันค่ะ







สื่อชิ้นนี้ชื่อว่า  หมุนๆหาศัพท์


วิธีการทำมีดังนี้

1.นำขวดน้ำ 1 ขวดมาล้างให้สะอาดและผ่าครึ่งตามแนวขวาง
2.นำกระดาษมาฉีกเป็นแผ่นๆเล็กใหญ่ตามใจชอบ 
3.นำมาแปะตามขวดน้ำตามใจชอบ
4.วาดรูปผลไม้ที่ต้องการลงในกระดาษ จากนั้นตัดเป็นรูปทรงผลไม้ที่วาดและนำมาติดกาวแปะกับขวดน้ำ
5.เขียนชื่อผลไม้ที่วาด และทากาวติดขวดน้ำฝั่งตรงข้ามกับฝั่งที่ติดรูป
6.เสร็จสิ้น 

สื่อชิ้นนี้เป็นเกมการศึกษา     ที่สอนให้เด็กจับคู่คำศัพท์กับภาพได้ถูกต้อง

สื่อชิ้นนี้ทำมาจาก                   ขวดน้ำ

ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ด้านร่างกาย  คือ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กได้ดี เพราะเด็กใช้มือจับขวดน้ำหมุนๆหาคำศัพท์ที่ตรงกับรูปภาพ
ด้านอารมณ์  คือ เด็กจะมีความสนุกสนานกับการหาศัพท์ที่ตรงกับภาพ มีความตื่นเต้นว่าศัพท์อยู่ฝั่งไหน

ด้านสังคม    คือ  เด็กสามารถเล่นกันกับเพื่อนและสลับกันทายได้ว่ารูปนี้อ่านว่าอะไร มีคำศัพท์ว่าแบบไหน

ด้านสติปัญญา คือ  เด็กจะได้ใช้สติปัญญาและการจินตนาการว่าคำศัพท์แบบนี้มีรูปร่างแบบไหน





ความรู้ที่ได้รับ

     ได้รู้จักการนำเอาสิ่งของที่เหลือใช้มาทำเป็นสื่อการสอนแบบใหม่ที่ใช้ความคิดเราและยังไม่เสียตังในการซื้อสื่อชิ้นใหม่ที่มีราคาแพงๆอีกด้วย  แถมยังได้ฝึกการจินตนาการของเราว่าจะสามารถออกแบบสื่อให้ออกมาลักษณะแบบไหน


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


เป็นสื่อที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายหมวดด้วยกัน  คือ  
ด้านภาษา  -  เด็กสามารถทายคำศัพท์และอ่านสะกดคำได้ว่าคำนี้อ่านว่าอะไร
  


การประเมินผล



ประเมินตนเอง  -  มีความสนุกสนานตั้งใจฟังที่ครูสอนดีมาก  เพราะครูบาสสอนสนุกไม่ตึงเครียดค่ะ  จึงทำให้บรรยากาศน่าเล่นไปด้วย

ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนจะตั้งใจทำสื่อของแต่ละคนอย่างเต็มที่ ไม่มีใครสงเสียงดังเพราะใจจดใจจ่ออยู่กับสิ่งที่แต่ละคนทำ

ประเมินอาจารย์  -  ครูบาสให้คำแนะนำที่ดีมากในการสอนทำสื่อทุกชนิดและให้คำปรึกษาที่ดีมากๆเวลาที่พวกเราไม่เข้าใจ







วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 7 ( วันพุธที่ 28 ตุลาคม เวลา 12.30 น. )




ความรู้ที่ได้รับ



     ในวันนี้ครูบาสนำสื่อการสอนมาตั้งโชว์เยอะแยะมากมาย ให้พวกเราดู นั้นคือ ชาตเพลงสำหรับเด็กนั้นเอง โดยครูบาสให้จับกลุ่มกันทำ โดยคิดชื่อเรื่องว่าจะเอาเพลงอะไรมาเขียนก็ได้  แต่จำกัดว่าต้องเป็นเพลงที่เด็กๆรู้จัก ไม่เอาเพลงสมัยใหม่หรือพวกเพลงสากล มิฉะนั้นเด็กๆอาจจะไม่เข้าใจได้




และนี่คือตัวอย่างงานของคนอื่นที่เสร็จแล้ว



เห็นแล้วอยากทำบ้างเลย มาลงมือทำกันดีกว่านะคะ 






 ทุกคนตั้งใจฟังมากเลยค่ะ ตื่นเต้นกันมากๆว่าจะทำออกมาเป็นยังไง ฮ่าๆๆ




สื่อชิ้นที่  1  ชาร์ตเพลงโอ้...ทะเลแสนงาม 


วิธีการทำมีดังนี้


1. คิดชื่อเพลงและตกลงกันในกลุ่มว่าจะเอาเพลงอะไร
2. จากนั้นวัดกระดาษให้ได้ประมาณ 5 นิ้ว แล้วตัดออก
3. วัดขอบใน เหลือขอบบนและขอบล่าง ด้านละ 1 นิ้ว 
4. เขียนเนื้อเพลงและวาดรูปประกอบให้สอดคล้องกันอย่างสวยงาม
5. ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม 
6. ติดแล็กซีนตามขอบกระดาษด้านหน้า ด้านข้างให้เรียบร้อยเพื่อปิดรอยกระดาษ

ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้รู้การทำวิธีทำชาร์ตเพลงที่ถูกต้องและทำให้เข้าใจหลักการทำมากขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังทำให้นึกถึงเหตุการณ์ความเป็นจริงเพราะมีภาพประกอบมาช่วยด้วย  ทำให้เด็กจินตนาการได้ดีขึ้น 



และแล้วก็เสร็จไปดูผลงานกันเลย !







สื่อชิ้นที่  2  สมุดคำศัพท์

สื่อชิ้นนี้ครูบาสให้เอากลับไปทำที่บ้านเพราะด้วยเวลาที่น้อยนิด  จึงทำไม่ทัน


ขั้นตอนการทำ

1. พับกระดาษ  A4  เป็นครึ่งตามจำนวนที่ต้องการ
2. คิดว่าจะเอาพยัญชนะ ตัวไหนเป็นตัวหลัก แต่ในแต่ละประโยคต้อมีพยัญชนะตัวนั้นทุกคำ 
3. วัดระยะและเขียนคำลงในกระดาษ
4. ตัดส่วนพยัญชนะ หรือ สระที่เลือกไว้หน้าสุดท้าย
7. วาดรูประบายสีเป็นภาพประกอบ พร้อมเย็บเข้าเล่มให้สวยงาม

ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้เด็กได้รู้ว่าคำๆนั้นมีพยัญชนะอะไรบ้าง  และอ่านออกเสียงอย่างไร ฝึกให้เด็กสังเกตุว่าคำนี้มีภาพเป็นแบบไหน






การนำไปประยุกต์ใช้


ทำให้เด็กรู้จักอ่าน รู้จักสังเกตุภาพว่าคำและภาพสอดคล้องกันมากเพียงใด  อีกทั้งยังทำให้เด็กรู้จักการสะกดคำ  รู้จักพยัญชนะ  สระ อีกด้วย และสามารถนำไปเป็นสื่อแนวทางการเรียนในด้านหมวดวิชาภาษาไทยได้ด้วย


การประเมินผล



ประเมินตนเอง  -  มีความสนใจอย่างมาก  เพราะดูท่าทางสนุก  ชอบการวาดรูปอยู่แล้วเลยทำได้อย่างสนุกสนาน ไม่ตึงเครียด และช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มอย่างดี

ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนตั้งใจฟังที่ครูบาสสอนทำสื่อกันดีมาก  ไม่มีใครคุยหรือเสียงดังเลย  อีกทั้งเมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานกลุ่มเพื่อนก็ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างดี

ประเมินอาจารย์  -  ครูบาสสอนสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ  และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาดีมากๆ  ไม่เข้าใจตรงไหนพอไปถามครูตอบได้หมดทุกคำถาม













การเรียนรู้ครั้งที่ 6 ( วันพุธที่ 21 ตุลาคม เวลา 12.30 น )




ความรู้ที่ได้รับ


      
     ในวันนี้ครูบาสแจกกระดาษรูปผลไม้ ดอกไม้ สถานที่ เป็นช่องๆ  รูป 4 เหลี่ยม และให้จับกลุ่มกันทำ โดยระบายสีในภาพให้สวยงามและตัดออกมาโดยเหลือกระดาษสีขาวตรงแถบไว้เพียงนิดเดียวเพื่อที่จะได้ดูสวยงาม  จากนั้นนำมาติกาวกบกระดาชานอ้อย (แผ่นชาต) หนา และใช้คัตเตอร์กรีดอย่างระมัดระวังให้สวยงาม จากนั้นนำมาใส่ถุงซิปล็อคเพื่อเป็นการป้องกันและถนอมสื่อการสอนไปในตัว


ไปดูภาพบรรยากาศการทำงานในวันนี้กันนนน !






สวยไหมคะทุกคน ? <3


*สื่อชิ้นนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากเวลาหมดก่อน ครูจึงให้กลับเอาไปทำที่บ้าน


ความรู้ที่ได้รับ 

เราได้ใช้สมาธิในการฝึกฝนการระบายสีไม่ให้ออกนอกกรอบ ดูเหมือเรื่องที่ง่ายแต่เอาเข้าจริงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลเอียดพอสมควรในการระบายสีให้อยู่ในกรอบ อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิไปในตัว






การนำไปประยุกต์ใช้


     การทำสื่อในวันนี้ สามารถนำไปใช้ได้ในการสอนเด็กได้หลากหลายทางหลากหลายรูปแบบ เพราะสื่อเกมการศึกษานี้จะทำให้เด็กได้ทั้งความรู้ ความคิด ความจำ การสังเกต และฝึกสมาธิให้กับเด็กได้เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆสำหรับเด็ก  อีกทั้งต้องคำนึงถึงการนำสื่อไปใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัยด้วยถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด



การประเมินผล 




ประเมินตนเอง

     ตั้งใจฟัง ต้งใจเรียนรู้และพยายามจดจำเทคนิคต่างๆที่ครูได้บอกในชั้นเรียนไปใช้กับการทำสื่อชนิดต่างๆอย่าตั้งใจ 

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆมีความสามัคคีช่วยเหลือกันดีมาก  พอหมดเวลาทุกๆคนก็ช่วยกันเก็บกวาดห้องให้สภาวะปกติ  และนักแนะกันทำงานนอกคาบให้เสร็จสิ้นในที่สุด

ประเมินอาจารย์

     ครูบาสสอนการทำสื่ออย่างละเอียดโดยไม่ห่วงวิชา 555+ มีความกระตือรือร้นในการสอนดีมากๆ สอนสนุกค่ะไม่ตึงเครียด










การเรียนรู้ครั้งที่ 5 ( วันพุธที่ 14 ตุลาคม เวลา 12.30 น )




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้






ในช่วโมงแรกครูบาสสาธิตการทำสื่อชนิดนึงที่สามารถขยับได้และมีความสนุกเพลิดเพลิน  จากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่มกัน 3-4 คน เพื่อมารับกระดาษที่ครูนำมาแจกพร้อมทั้งระบายสีและทำตาม  โดยสื่อชนิดนี้มีการใช้เส้รเอ็นมาช่วยด้วยเพื่อให้ภาพขยับเสมือนจริงได้. ..ไปดูกันเลยดีกว่า 









สื่อชิ้นที่  1  ครอบครัวหรรษา





วิธีการทำมีดังนี้

1. ระบายสีภาพที่ครูให้อย่างสวยงาม
2. ตัดตามรอยปะที่มีอ่างระมัดระวัง
3. ทำวงล้อและนำไปไว้ตรงกลางวงเพื่อสำหรับหมุนได้
4.นำวงล้อทากาวติดกับกับกระดาษพื้นหลังอย่างระมัดระวัง
5. นำวงล้อมาติดกับภาพที่ระบายสีไว้ และนำพื้นหลังอีกส่วนมาติดเฉพาะส่วนบนของภาพจะสามารถเปิด  ปิดวงล้อ และจะหมุนวงล้อได้


ความรู้ที่ได้รับ

จากการทำสื่อนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนแบบอื่นๆได้อีก เช่น การทำเป็นฤดูกาลต่าง การทำวัฎจักรต่างๆ และการเจริญเติบโตเป็นต้น



สื่อชิ้นที่  2  เจ้าจุกให้อาหารไก่



วิธีการทำมีดังนี้

1. ช่วยกันระบายสีในภาพให้สวยงาม
2. ตัดภาพบางส่วนที่สมควรตัดออกไป
3. นำชิ้นส่วนที่ตัดออกไปติดกับกระดาษแข็ง
4. เจาะรูที่กระดาษ และติดเส้นเอ็นเข้ากับชิ้นส่วนและติดภาพพื้นหลังให้แน่น 

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักการทำสื่อที่เคลื่อนไหวขยับไปมาได้ เพื่อเกิดอรรถรสในการสอนและการเรียนรู้ของเด็ก




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


สามารถนำสื่อนี่ไปประกอบการเรียนการสอนเพื่อเล่านิทานให้กบเด็กๆฟังเพื่อให้เด็กได้จินตนาการว่าเหตุการณ์เป็นลักษณะแบบไหน



การประเมินผล



ประเมินตนเอง  - มีความขยันมุ่งมานะ  ตั้งใจที่ครูสอนเพื่อจะได้ทำให้ผลงานที่ออกมามีประสิทธิภาพและผลสำเร็จ  รู้สึกภูมิใจกับงานครั้งนี้มาก

ประเมินเพื่อน  - เพื่อนมีความสามัคคีกันในหมู่คณะร่วมมือกันทำงานออกมาอย่างสวยงามไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ

ประเมินอาจารย์  -  ครูบาสสสอนการทำสื่อละเอียด  ข้าใจง่าย  ไม่วน  หากไม่ข้าใจพอไปถามครูก็บอกอย่างละเอียดอีกรอบได้





การเรียนรู้ครั้งที่ 4 ( วันพุธที่ 7 ตุลาคม เวลา 12.30 น )




ความรู้ที่ได้รับในวันนี้




ทุกคนเอางานกลุ่ที่ได้รบมอบหมายให้ไปทำมาส่งกันเป็นกลุ่มๆ 


สื่อชิ้นที่  1  โลมากระโดดน้ำ





วิธีทำมีดังนี้

1. ออกแบบสื่อได้ตามใจชอบ วางแผนกับเพื่อนๆในกลุ่ม
2. ลงมือวาดภาพสื่อให้สวยงามโดยใช้กระดาษแข็ง และออกแบบตัวสื่อที่ใช้ขยับใส่กระดาษอีกอัน
3. ใช้กรรไกรตัดกระดาษแข็งให้เป็นฐานรองยึดไว้เพื่อใช้ขยับไปมา และนำตัวสื่อที่จะขยับมาติดกับกระดาษที่จะใช้ติดกับฐาน
4. นำตัวสื่อที่ติดกับกระดาษมาติดกับฐานที่เตรียมไว้ และนำฐานไปแปะกับพื้นหลังที่ทำไว้เสร็จแล้ว

ความรู้ที่ได้รับ


ทำให้เกิดสื่อที่ขยับได้เพื่อเสริมสร้างจินตนาการความสมจริง  เหมือนเป็นการจำลองเหตุการณ์นั้นๆเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในตัวสื่อการเรียนมากขึ้น








การนำไปประยุกต์ใช้



นำไปใช้ทำสื่อสำหรับการสอนเด็กได้โดยการเล่านิทานหรือเป็นความรู้ให้เด็กในเรื่องที่ต้องการจะสอนเด็ก สามารถทำให้เด็กสนใจและเข้าใจการเรียนได้ดีขึ้น


การประเมินผล



ประเมินตนเอง  -  ครูบาสสอนการทำสื่อขยับไปมาเพื่อให้เกิดความสมจริง แต่ด้วยความที่รีบและเวลาที่น้อยกลุ่มเราจึงทำออกมาได้ไม่ค่อยดีนักแต่ก็ตั้งใจทำอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและสามารถทำงานได้ออกมาสวยงามกันทุกกลุ่ม 

ประเมินอาจารย์  -  ครูบาสสอนทำสื่ออย่างละเอียด ไม่ งง ร้อมทั้งสาธิตให้ดูก่อนว่าจุดไหนควรอยู่ตรงไหน ควรทากาวตรงไหนและตัดตรงไหน เพื่อเกิดความเข้าใจมากขึ้นรวมๆแล้วสอนสนุกค่ะ






วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 3( วันพุธที่ 23 กันยายน เวลา 12.30 น )





ความรู้ที่ได้รับในวันนี้




ในตอนแรกครูได้อธิบายการทำดอกไม้จากวัสดุต่างๆและให้พวกเราเลือกว่าอยากทำดอกอะไรก่อน พวกเราเลือกทำดอกกุหลาบกัน จากนั้นครูก็สอนและลงมือทำไปพร้อมๆกัน




สื่อที่ได้ลงมือทำในวันนี้  คือ  ดอกกุหลาบ จากทิชชู่นั้นเอง 



วิธีการทำมีดังนี้

1. นำทิชชู่สีขาวมา 1 แผ่น แล้วม้อนไปทีละนิดๆเรื่อยๆจนรู้สึกว่าแน่นพอ  จากนั้นจับมารวมเป็นช่อๆและใช้เส้นด้ายขาวพันมัดจนแน่น  แต่ระวงอย่าให้ขาด 
2. นำกระดาษทิชชู่มา 2 แผ่นทำตามแบบขั้นตอนที่  1 
3. ใช้กระดาษทิชชู่เพิ่มกระดาษมากขึ้นเรื่อยๆ จะได้ดอกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มัดด้วยด้ายขาว
4. นำกระดาษสีเขียวมาพับตัดครึ่ง และทำเป็นใบไม้ นำฟลอร่าเทปมาพันก้านและนำใบไม้มาติดไว้และพันเข้าด้วยกัน เป็นอันเสร็จสิ้น

ความรู้ที่ได้รับ

กระดาษทิชชู่สามารถนำมาทำให้ดูมีค่ามากขึ้นโดยการประดิษฐ์สื่อการสอนเป็นรูปดอกไม้ต่างๆได้ดดยไม่มีพิษภัยแก่เด็กๆ



การนำไปประยุกต์ใช้



นำไปประดิษฐ์ดอกไม้ไว้ใช้การในชีวิตประจำวัน เช่น การตกแต่งบอร์ดงานต่างๆตามเทศกาลนั้นๆได้โดยไม่ต้องเสียตังสื่อดอกไม้ติดตามบอร์ดแพงๆแต่เราสามารถประดิษฐ์เองได้ง่ายๆ



การประเมินผล



ประเมินตนเอง  -  วันนี้ทำสื่ออย่างตั้งใจ และสนใจฟังที่ครุบาสสอนอย่างมุ่งมั่นเพราต้องการทำดอกไม้ให้ถูกต้องตามขั้นตอน  หากไม่ฟังอาจทำให้เราข้ามขั้นตอนและจะทำให้เราไม่สามารถทำดอกไม้ออกมาถูกต้องได้ 

ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนๆ ตั้งใจทำอย่างสนุกสนานมาก มีความกระตือรือร้นพอสมควรเพราะอยากให้งานออกมาดีนั้นเองและยังรู้จักช่วยเหลือกัน

ประเมินอาจารย์  -  ครูสอนเข้าใจง่ายมาก และทำตามไปด้วยด้วยได้ ไม่อย่างนั้นจะ งง ครูบาสใจดี เป็นกันองสอนสนุกสนาน ไม่ตึงเครียด 




การเรียนรู้ครั้งที่ 2 (วันพุธที่ 16 กันยายน เวลา 12.30 น.)





ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

ในวันนี้ครูบาสจะมาสอนทำสื่อด้วยกัน 2 ชิ้นแต่ก่อนอื่นครูจะอธิบายก่อนว่าต้องรูปแบบไหน  ลักษณะอย่างไร
  


สื่อชิ้นที่ 1 นกฮูกปากแหลม


วิธีการทำมีดังนี้

 1.  นำภาพนกฮูกมาระบายสีให้สวยงามตามใจชอบ
 2.  กรีดปากตามรอยปะ
 3.  พับปากให้ปากสามารถขยับหุบอ้าๆได้
 4.  นำไปแปะกับกระดาษสีโดยเว้นช่วงปากไว้ให้ขยับ

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อชิ้นนี้สามารถนำมาใช้เป็นสื่อประกอบการสอนแบบเล่านิทาน สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายแนวทางได้ และยังช่วยเสริมประสบการณ์ที่ดีให้แก่เด็กๆได้



สื่อชิ้นที่  2  แม่ไก่เอเลี่ยนขายาว



วิธีการทำมีดังนี้
 1. นำภาพไก่ขายาวมาระบายสีให้สวยงาม
 2.  ใช้คักเตอร์กรีดตรงตูดไก่ให้กว้างพอประมาณ ที่จะให้แม่ไก่ออกไข่ได้       
 3.  วาดรูปไข่ตรงกระดาษเว้นว่าง วาดกี่ฟองก็ได้ตามที่ต้องการ
 4.  ตัดส่วนที่วาดไข่ออกแล้วพับเข้าใส่ตูดแม่ไก่ จากนั้นดึงกระดาษให้ไข่ออกมา

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อชิ้นนี้สามารถช่วยในเรื่องการจดจำสีได้ และยังช่วยสอนสีปรจำวันต่างๆได้ทั้ง 7 วัน คือ หากเราวาดไข่ 7 ใบ พร้อมท้งระบายสี ไข่ใบต่างๆตามสีประจำวัน และดึงกระดาษขึ้นทีละนิดๆเพื่อให้เด็กเรียนรู้สีของแต่ละวันได้



สื่อชิ้นที่  3  ดอกไม้จากกระดาษ






วิธีการทำมีดังนี้

1. นำกระดาษสีต่างๆมาพับครึ่งแล้วตัด โดยพับเป็นรูปสามเหลี่ยมไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ
2. ตัดกลีบดอกไม้ตามที่ต้องการให้ครบแล้วคลี่ออก
3. ใช้ปากกาสีวาดเกสรหรือวาดตกแต่งบนดอกไม้ตามใจชอบและนำดอกไม้มาติดกาว ให้ครบทุกดอกโดยมี1ดอกที่อยู่ตรงกลาง
4. นำกระดาษ 1 แผ่น ทำเป็นปกแล้วนำดอกไม้ที่ติดเสร็จแล้วมาติดแล้วพับไว้ให้กาวติดกับกระดาษแล้วเปิดออกจะได้ดอกไม้ที่สวยงาม

ความรู้ที่ได้รับ
 การทำสื่อชิ้นนี้สามารถนำมาตกแต่งบอร์ดภายในห้องเรียนได้อย่างสวยงามตามใจชอบ





การนำไปประยุกต์ใช้

สื่อทั้ง  3  ชิ้นที่ได้ทำในวันนี้สามารถนำไปใช้ตกแต่งห้องเรียนต่างๆได้เพื่อให้เกิดการเข้าถึงเนื้อหาและอารมณ์สุนทรีมากที่สุด เพราะมีสื่อมาประกอบช่วยในการรียนการสอนด้วย



การประเมินผล

ประเมินตนเอง - มีความตั้งใจมากในการประดิษฐ์งานทั้ง  3  ชิ้นเพราชอบการลงมือทำมากกว่าการคิดวิเคราะห์  รู้สึกสนุกสนานอย่างมากในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน  -  เพื่อนๆมีความสุขแลสนุกไปกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ แต่ละคนใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์ดีมาก  และมีความสามัคคีคอยช่วยเหลือกันดี

ประเมินอาจารย์  -  ครูบาสตั้งใจสอนมาก และลงมือทำเป็นตัวอย่างให้ดู  ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากเราจะทำให้ได้เห็นภาพจริงๆด้วยว่าควรลงมือทำแบบไหนลักษณะอย่างไรเป็นต้น